
“ค่าไฟ” เป็นหนึ่งในต้นทุนธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องการควบคุม แต่ด้วยหลากหลายปัจจัย อาจทำให้ไม่สามารถลดการใช้ไฟฟ้าในการผลิตสินค้าและดำเนินกิจการได้ ดังนั้น การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด (Solar Cell On-grid) จึงกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมของธุรกิจทุกขนาดที่ต้องการลดค่าไฟที่ราคาไม่แพง และไม่จำเป็นต้องซื้อแบตเตอรี่สำรองไฟ จึงเหมาะกับโรงงาน สำนักงาน อาคารพาณิชย์ ที่ต้องใช้ไฟสูงในช่วงเวลากลางวัน
Solar Cell On-grid คืออะไร เหมาะกับใคร ?
ระบบ Solar Cell On-grid คือระบบที่เชื่อมต่อการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์เข้ากับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าโดยตรง จึงไม่มีแบตเตอรี่เก็บพลังงาน แต่จะใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้ทันที หากผลิตไฟฟ้าไม่พอต่อการใช้งาน ระบบจะดึงไฟจากการไฟฟ้ามาเสริมโดยอัตโนมัติ แต่ในทางกลับกัน ถ้าผลิตไฟได้มากเกินความต้องการ ก็สามารถขายคืนไฟฟ้าดังกล่าวให้กับการไฟฟ้าได้ด้วย
ปัจจุบัน ระบบ Solar Cell On-grid เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีราคาถูกที่สุด และมีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้ได้ทั้งไฟจากการไฟฟ้าและไฟจากโซลาร์เซลล์
Solar Cell On-grid เหมาะกับใคร ?
ระบบ Solar Cell On-grid จะเหมาะที่สุดกับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน อย่างเช่น โรงงาน อาคารสำนักงาน โรงเรียน ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงหน่วยงานราชการที่ต้องการควบคุมต้นทุนด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วงจรโซลาร์เซลล์ออนกริด ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
สำหรับเจ้าของกิจการที่สนใจติด Solar Cell On-grid ควรศึกษาวงจรและอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ใช้ผลิตและส่งกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้ววงจรโซลาร์เซลล์แบบออนกริดจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ๆ ดังต่อไปนี้
แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel)
เป็นอุปกรณ์ที่แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งจะมีการออกแบบและคำนวณจำนวนแผงที่จะติดตั้งจากปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน โดยประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีแสงอาทิตย์ในพื้นที่ อุณหภูมิที่แผงทำงานที่ต้องไม่ร้อนเกินไป มุมเอียงและทิศทางในการติดตั้ง และการบำรุงรักษาอย่างการทำความสะอาดลดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่บดบังแสงแดด
อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ผลิตได้ ให้กลายเป็นกระแสสลับ (AC) จากนั้นส่งต่อไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงการจ่ายเข้าระบบของการไฟฟ้า
อินเวอร์เตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ แบบ String Inverter ใช้กับแผงที่เชื่อมต่อเป็นชุด ติดตั้งง่าย ราคาถูก กับแบบ Micro Inverter ซึ่งเป็นการติดตั้งทีละแผง ทำให้มีประสิทธิภาพสูง แม้ว่าบางแผงจะโดนร่มเงาบดบัง
ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (AC/DC Combiner Box หรือ Load Center)
เป็นกล่องที่รวบรวมสายไฟ DC จากแผงโซลาร์เซลล์เข้าไปยังระบบหลัก และช่วยป้องกันระบบจากไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟเกิน
ภายในตู้ควบคุมจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้
- เบรกเกอร์ที่ช่วยตัดระบบในกรณีที่เกิดความผิดปกติ
- Surge Protector ระบบป้องกันไฟกระชาก
- DC/AC Switch ช่วยเปิด-ปิดระบบทำงานขณะซ่อมบำรุง
- อุปกรณ์สื่อสาร ในการส่งข้อมูลไปยังระบบ Monitoring
มิเตอร์วัดพลังงาน (Bi-directional Energy Meter)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากระบบโซลาร์เซลล์ การใช้ไฟฟ้าปกติ
ข้อดีและข้อจำกัดของระบบ On-grid
ระบบโซลาร์เซลล์แบบออนกริดมีข้อดีและข้อควรพิจารณา ดังต่อไปนี้
ข้อดีของระบบ Solar Cell On-grid
- ลดค่าไฟฟ้าได้จริง โดยใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ค่าไฟแพงที่สุด และมีการใช้ไฟเยอะที่สุด
- ต้นทุนเริ่มต้นต่ำกว่าแบบ Off-grid และแบบ Hybrid ไม่ต้องลงทุนกับแบตเตอรี่ราคาแพง
- ดูแลง่าย ระบบไม่ซับซ้อน ไม่มีอุปกรณ์เก็บไฟที่ต้องเปลี่ยนบ่อย
- คืนทุนเร็ว เหมาะกับธุรกิจที่ใช้ไฟในปริมาณสูงในช่วงเวลากลางวัน
- มีไฟใช้อย่างต่อเนื่อง หากไฟจากโซลาร์ไม่พอ ก็สามารถใช้ไฟฟ้าปกติได้ทันที
ข้อจำกัดของระบบ Solar Cell On-grid
- ไม่มีไฟใช้เมื่อไฟฟ้าดับ เพราะอินเวอร์เตอร์จะตัดระบบเพื่อความปลอดภัย
- ใช้ไฟจากโซลาร์เซลล์ได้เฉพาะตอนกลางวัน ถ้าต้องการใช้พลังงานที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ในช่วงกลางคืน อาจต้องพิจารณาการใช้ระบบ Hybrid แทน
คำแนะนำในการติดตั้งระบบ On-Grid สำหรับภาคธุรกิจ
สำหรับธุรกิจที่ต้องการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ออนกริดเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการ ควรพิจารณาถึงผลลัพธ์และการลงทุนในระยะยาว เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และปลอดภัย ดังนี้
เลือกบริษัทที่รับติดตั้งโซลาร์เซลล์ครบวงจร
โดยมีบริการที่ครอบคลุมตั้งแต่การสำรวจ ออกแบบ ขออนุญาต ไปจนถึงการติดตั้งและบำรุงรักษาในระยะยาว เพราะกว่าจะคุ้มทุนจะต้องใช้ระยะเวลานานเกือบ 10 ปี จึงควรเลือกบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ รวมถึงมีความน่าเชื่อถือ
ตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์
เพราะการเลือกอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจนำไปสู่ปัญหาที่ตามมาไม่รู้จบ โดยควรเลือกอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและมีการรับรองความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ
มีการรับประกันอุปกรณ์และการติดตั้ง
สำหรับแผงโซลาร์เซลล์ควรรับประกันประสิทธิภาพการผลิตไม่น้อยกว่า 80% เป็นระยะเวลา 25-30 ปี อินเวอร์เตอร์ควรรับประกัน 10 ปีขึ้นไป และควรรับประกันการติดตั้งอย่างน้อย 2 ปี
พิจารณาบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ
หากต้องการควบคุมต้นทุนในระยะยาวและลดความเสี่ยง ควรเลือกติดตั้งกับบริษัทที่มีประสบการณ์และทำงานกับการไฟฟ้าโดยตรง เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต
ตรวจสอบสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ
สำหรับธุรกิจที่หันมาใช้พลังงานสะอาดอย่างโซลาร์เซลล์จะได้รับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐตามนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดมากมาย ตัวอย่างเช่น การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 50% ของมูลค่าการลงทุน การยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจในฐานะที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาดอีกด้วย
MEAei รับติดตั้งและวางระบบโซลาร์เซลล์สำหรับธุรกิจ
MEAei รับติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร สำหรับอาคารสำนักงาน โรงงาน และร้านค้า ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบระบบ ขออนุญาต ติดตั้ง และบำรุงรักษา
✅ เชี่ยวชาญในระบบ On-grid, Hybrid และ Off-grid
✅ รับประกันผลงานติดตั้งและบำรุงรักษา 2 ปีเต็ม
✅ รับประกันประสิทธิภาพแผงโซลาร์เซลล์ไม่น้อยกว่า 80% นาน 25-30 ปี
✅ เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าส่วนกลางได้อย่างราบรื่น
สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ โทรศัพท์ 06-3247-6499 หรือกรอกแบบฟอร์มได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง
- What are the advantages and disadvantages of on-grid solar systems?. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2568 จาก https://voltxenergy.com.au/blogs/blog/what-are-the-advantages-and-disadvantages-of-on-grid-solar-systems